Last updated: 4 ก.ย. 2566 | 1868 จำนวนผู้เข้าชม |
ปักหมุดวัดเด็ดวัดดัง ไหว้พระขอพร สมปรารถนา
1.พุทธสถาน จีเต็กลิ้ม จ.นครนายก
เป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ้งเอี๊ย) พุทธสถานแห่งนี้ได้สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมจีน และตามความคติความเชื่อของมหายานโดยใช้หลัก ฮวง จุ้ยนั่นเอง ทั้งยังมีเทพเจ้าอีกหลายองค์ เช่น เทพเจ้าเฮ่งเจีย เจ้าพ่อกวนอู เจ้าพ่อเสือ พระโพธิสัตว์กวนอิม สูง 9 เมตร พระไภสัชยคุรุพุทธเจ้า ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 พุทธสถาน จี เต็ก ลิ้ม ได้รวบรวมสิ่งศักดิ์สิทธิ์มงคลทั้งของพุทธมหายานและลัทธิเต๋าไว้เป็นจำนวนมาก และทางพุทธสถานยังได้มีการพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในทุก ๆ ปีพุทธสถาน จี เต็ก ลิ้ม จะมีประชาชนมากราบไหว้ขอพรเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ , ตรุษจีนจะมีประชาชนมาฝากดวง สะเดาะเคราะห์เพื่อต่อดวงชะตาในปีนั้นๆให้ปราศจากอุปสรรคทั้งหลาย
2.วัดแค จ.สุพรรณบุรี
วัดเก่าแก่ที่มีชื่อปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้าง - ขุนแผน เป็นวัดที่ขุนแผนมาบวชเรียนวิชาเสกใบมะขามเป็นตัวต่อจากพระอาจารย์คง โดยอาศัยใบมะขามจากต้นมะขามยักษ์อายุกว่า 1,000 ปี ภายในวัดยังมี “คุ้มขุนแผน” หรือเรือนไทยโบราณที่สร้างตามแบบในวรรณคดี และรูปปั้นหลวงปู่คงนั่งพญาต่อที่มีการนำรังต่อยักษ์มาแสดงไว้ข้างเคียงกันด้วย ผู้คนมักกราบไหว้ขอพร ให้โชคร่ำรวย
3.วัดจันทรังษี จ.อ่างทอง
หนึ่งในสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจชาวอ่างทอง และนักท่องเที่ยววิยมมากราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล ณ วัดจันทรังษี เปที่ประดิษฐานหลวงพ่อสดหรือคนท้องถิ่นนิยมเรียกกันว่า"หลวงพ่อโยก" องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดหน้าตักกว้าง 6 เมตร 9 นิ้ว สูงถึง 9.9 เมตร ผู้คนเชื่อท่านนั่งโยกตัวเองได้ หากใครมาขอพรแล้วจะสมหวังดั่งใจหมาย
4.วัดเจดีย์ จ.นครศรีธรรมราช
นาทีนี้เป็นใครก็รู้จัก "ไอ้ไข่" วัดเจดีย์ หรือ ตาไข่วัดเจดีย์ คือ รูปไม้แกะสลักของเด็กชายอายุประมาณ 10 ขวบ ที่ตั้งอยู่ในศาลาวัดเจดีย์ เชื่อกันว่ามีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์สถิตย์อยู่ ตำนาน ไอ้ไข่ นั้น มีมากมายหลายเรื่องด้วยกัน ทั้งที่ว่าไอ้ไข่คือวิญญาณเด็กที่ติดตามหลวงพ่อทวด เมื่อหลวงพ่อทวดธุดงค์มาที่วัดร้างแห่งนี้ และให้วิญญาณดวงนี้เฝ้าดูแลปกปักษ์รักษาทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ภายในวัดไว้ ในขณะที่บางตำนานเล่าว่า ไอ้ไข่ คือเด็กที่เคยวิ่งเล่นอยู่ในวัดเมื่อนานมาแล้ว ต่อมาเด็กคนนั้นประสบอุบัติเหตุตกน้ำเสียชีวิต วิญญาณของเด็กผูกพันอยู่กับวัด ก็เลยสถิตย์ที่วัดนี้ตั้งแต่นั้นมา วัดนี้เป็นรู้จักกันอย่างมากมายนั้น เลื่องลือเรื่องขอเลขมงคล ไม่ว่าใครก็ต่างมาขอพรกัน โดยเฉพาะทางด้านโชคลาภและการค้าขาย
5.วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง
วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกษไชโย เดิมทีเป็นวัดราษฎร์ ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่พบประวัติแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง จนเมื่อคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นที่วัดแห่งนี้ในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงทำให้วัดไชโยวรวิหารกลายเป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงนับจากนั้น เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ "พระมหาพุทธพิมพ์" หรือ "หลวงพ่อโต" ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธาและสักการะขอพรกัน
6.วัดธาตุน้อย จ.นครศรีธรรมราช
วัดธาตุน้อย หรือวัดพระธาตุน้อย ตั้งขึ้นโดยความประสงค์ ของพ่อท่านคล้าย (พระครูพิศิษฐ์อรรถการ) พ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น ท่านมักจะให้พรกับทุกคน ขอให้ เป็นสุข เป็นสุข พ่อท่านคล้าย วาจา โดยประดิษฐานพระเจดีย์พระสารีริกธาตุและสรีระสังขารพ่อท่านคล้ายในโลงแก้วประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ปัจจุบันสรีระ อีกด้วยสังขารพ่อท่านคล้ายซึ่งว่ากันว่าแข็งเป็นหินที่ชาวบ้านนับถือและศรัทธาเข้ามาสักการบูชากันมากยิ่งขึ้น
7.วัดป่าคำชะโนด จ.อุดรธานี
คำชะโนด หรือ วังนาคินทร์คำชะโนด มีลักษณเป็เกาะลอยน้ำปกคลุมไปด้วยต้นคำชะโนด ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นที่สิงสถิตของพญานาคปู่ศรีสุทโธ ย่าศรีประทุมมา หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ดินแดนลี้ลับของพญานาคนั่นเอง โดยที่นี่เป็นสถานที่ที่ชาวอีสานเคารพและศรัทธา และเป็นที่นักท่องเที่ยวมักจะขอโชคลาภ, ขอพร, แะถวายเครื่องบูชาอยู่ตลอดไม่ขาดสาย
8. วัดป่าโมกวรวิหาร จ.อ่างทอง
เป็นวัดเก่าแก่สมัยสุโขทัย เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดใต้ท้ายตลาด ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย ประวัติความเป็นมาน่าอัศจรรย์โดยเล่าขานมาว่าได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับองค์พระพุทธไสยาสน์ว่าเป็น พระพุทธรูปพูดได้อีกด้วย นักท่องเที่ยวนิยมไปสัการะ กราบไหว้ขอพรเรื่องสุขภาพ แข็งแรงและปราศจากโรคภัย
9.วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี
เป็นวัดสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ประดิษฐานหลวงพ่อโต เป็นพระก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 23.47 เมตร นักท่องเที่ยวหลังไหลกันมากราบไหว้ปิดทองขอพรหลวงพ่อโต เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิตและครอบครัวมีโชคมีลาภ การงานเจริญก้าวหน้า การค้าขายเจริญรุ่งเรือง สุขภาพร่างกายแข็งแรง และการเดินทางปลอดภัย
10.วัดพระธาตุดอยคำ จ.เชียงใหม่
วัดพระธาตุดอยคำ แต่เดิมชื่อ วัดสุวรรณบรรพต เป็นวัดที่มีชื่อเสียงด้านการขอพร บนบาน และเป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี ประดิษฐานหลวงพ่อทันใจ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ หลายต่อหลายครั้งที่มีผู้เดินทางมาขอพร บนบานแล้วประสบความสำเร็จและได้เดินทางกลับมาถวายดอกมะลิเพื่อแก้บน
11.วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่
วัดพระสิงห์ หรือมีชื่อเต็มว่า วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา ทั้งยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเชียงใหม่ที่ให้ความศรัทธาและจะเดินทาง มาเคารพ สักการะกันอย่างเนื่องแน่นเป็นประจำ ทุกป
12.วัดม่วง จ.อ่างทอง
เป็นวัดที่นักท่องเที่ยวศรัทธา สักการะ ไหว้พระขอพร โดยสัมผัสปลายนิ้วหลวงพ่อใหญ่ หรือ พระพุทธมหาวนมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หน้าตักกว้าง 63 เมตร และสูงถึง 95 เมตร ทั้งภายในวัดยังมีให้ชมรูปปั้นแดนนรก-สวรรค์อีกด้วย
13.วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ จ.มุกดาหาร
อีกหนึ่งแลนด์มาร์คใหม่ของมุกดาหาร ในวัดเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าใหญ่แก้วมุกดาศรีไตรรัตน์ พระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่บนยอดภูให้ได้สักการะขอพร ทั้งยังมีรูปปั้นพญานาคขนาดใหญ่ องค์พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช หรือ ปู่ศรีมุกดา องค์พญานาคขนาดใหญ่สวยอลังการบนภูเขาสูง ลำตัวของพญานาคนอนขดตัวไปมา ชูลำคอสูงสง่าหันไปทางแม่น้ำโขง มีสีน้ำเงินฟ้า สะท้อนสีเขียวงดงาม ที่สร้างจากความศรัทธาในความเชื่อด้านความโชคดี สุขขภาพ ความปลอดถัย ร่ำรวยเงิน ด้วยการตั้งจิตอธิษฐาน จากนั้นเดินลอดท้องพญานาคทั้ง 7 ช่องพร้อมนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชา และนำผ้าแดงที่เขียนชื่อตัวเองไปผูกไว้ที่ต้นไม้รอบพญานาค เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
14.ศาลเจ้าท่ามกงเยี่ย จ.ตรัง
ศาลเจ้าท่ามกงเยี่ย หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า โรงพระท่ามกงเยี่ย นับเป็นศาลเจ้าจีนเก่าแก่ที่เงียบสงบคู่เมืองตรังมายาวนานเป็นเวลา 120 ปี เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวตรัง ที่ศาลเจ้าแห่งนี้เรื่องที่นิยมขอพรจะเป็นเรื่องการขอบุตร และขอให้ประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ
7 พ.ค. 2564
27 ก.ค. 2565
5 ส.ค. 2564