รู้หรือไม่? วันวาเลนไทน์ของญี่ปุ่น แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร!!

Last updated: 4 ก.ย. 2566  |  2825 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รู้หรือไม่? วันวาเลนไทน์ของญี่ปุ่น แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร!!

 ก่อนอื่นเลย เรามาทำความรู้จักกับวันวาเลนไทน์กันก่อนดีกว่า วันวาเลนไทน์จริงๆ แล้วเป็นวันที่ “นักบุญวาเลตินัส” หรือที่เรียกกันว่า “นักบุญวาเลนไทน์” ถูกประหาร แต่ด้วยความรักของนักบุญกับลูกสาวผู้คุมทำให้ผู้คนต่างยกย่องความรักอันบริสุทธิ์ของพวกเขาทั้ง 2 คนนับตั้งแต่นั้นมาจึงได้ยกให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นวันแสดงความรักสากล แต่รู้ไหมว่ามีอีกประเทศนึงที่มีวัฒนธรรมในวันวาเลนไทน์ที่แตกต่าง อยากรู้ใช่ไหมค่ะว่าเป็นยังไง....!!

 



ทำไมผู้หญิงต้องให้ของขวัญผู้ชายในวันวาเลนไทน์
14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันแห่งความรัก ที่ผู้คนมากมายต่างรอคอย ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่จะได้รับการเซอร์ไพรส์จากคนรักของตน.  แม้ของขวัญชิ้นนั้นจะไม่ได่มีมูลค่าสูงก็ตามแต่ กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขทางใจ ว่าแต่ทำไมวัฒนธรรมญี่ปุ่นถึงมีค่านิยมในการให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้มอบของขวัญแทนใจแก่ฝ่ายชายกันนะ...เอ๋!?



          ก่อนอื่นเลยค่ะ เอฟวีนิวทัวร์ต้องขออธิบายวัฒนธรรมของวันวาเลนไทน์ในญี่ปุ่นต่างกันยังไงกับประเทศอื่นๆ วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปีผู้หญิงต้องให้ของขวัญแก่ผู้ชาย มีขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1936 จุดเริ่มต้นที่มาจากความคิดของ บริษัทช๊อกโกแลตชื่อดังของญี่ปุ่นชื่อว่า มอโรซอฟฟ์ (MOROZOFF) เนื่องจากเจ้าของบริษัทรู้จักกับนักเขียนหนังสือพิมพ์จากอเมริกา จึงได้รู้จักเทศกาลวันวาเลนไทน์จากนักเขียนหนังสือพิมพ์ท่านนี้ ทำให้เกิดไอเดียการสร้างโฆษณาช๊อกโกแลตของตนเองผ่านเรื่องราววันวาเลนไทน์เพื่อสร้างกระแสให้เป็นวันสำคัญของการให้ของขวัญพิเศษต่อคนรักโดยจัดแคมแปญพิเศษเชิญชวนผู้หญิงให้ช๊อกโกแลตเป็นของขวัญพิเศษแก่ผู้ชายกันเถอะ ณ ห้าง สรรพสินค้าอิชิตัน สาขาชินจูกุ เมืองโตเกียว



ภาพซ้าย โฆษณาช๊อกโกแลตวาเลนไทน์โพส์ตเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478/ ภาพขวา ช๊อกโกแลตแฟนซีที่วางจำหน่ายก่อนสงคราม
**ขอขอบคุณรูปภาพจากภาพจาก morozoff.co.jp**
 

โดยให้เหตุผลว่า ทำไมผู้หญิงต้องให้ช๊อกโกแลตแก่ผู้ชาย เพราะว่าลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาซื้อของในห้างอิชิตันนั้นเป็นผู้หญิงนั่นเอง นอกจากนั้นทางบริษัทก็ยังได้ผลิตช๊อกโกแลตเป็นรูปแบบแปลกใหม่ เช่น รูปหัวใจ รูปราศีต่าง ๆ ทำให้เกิดความนิยมมากยิ่งขึ้น จากการจุดกระแสแคมเปญนี้ จึงได้มีบริษัทอื่นทำตามบ้าง จนในที่สุด ช่วงปีค.ศ. 1970 สมาคมช๊อกโกแลตและโกโก้ประเทศญี่ปุ่นได้ทำบัญญิติให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันแห่งช๊อกโกแลตและท้ายที่สุดวันวาเลนไลน์ในญี่ปุ่นผู้หญิงส่วนใหญ่จะให้ช๊อกโกแลตแก่ผู้ชายกลายเป็นประเพณีไปจนถึงปัจจุบัน

“แต่ว่าตามประเพณีของวัฒนธรรมญี่ปุ่น เมื่อมีการได้รับของขวัญ ย่อมต้องให้สิ่งตอบแทนเช่นกัน”

เริ่มต้นจาก  ร้านขายขนมชื่อ อิชิมุระ แมนโมริโด (Ishimura Manmoridou) ในเมืองฟุกุโอกะ เมื่อปีค.ศ. 1978 โดยโปรโมตให้ของขวัญเป็นสีขาว กลุ่มผู้ประกอบการผลิตของหวานต่างๆ ย่อมสร้างโอกาสทางธุรกิจ โดยทางสมาคมอุตสาหกรรมลูกกวาดในประเทศญี่ปุ่นกำหนดวันที่ 14 มีนาคมของทุกปี เป็น วัน ไวท์เดย์ (White Day) หรือ วัน ขนมหวาน (Candy day) คือวันที่ผู้ชายจะต้องมอบสิ่งของตอบแทนให้กับผู้หญิง มีช่วงหนึ่งเป็นยุคที่เฟื่องฟู เกิดการเกทับว่าจะต้องตอบแทนผู้หญิงกลับไปสามเท่าทำให้ผู้ชายในยุคนั้นกระเป๋าฉีกไปเป็นตาม ๆกัน พอถึงในสมัยปัจจุบันแค่ให้ของขวัญราคาแพงกว่าผู้หญิงเล็กน้อยก็เพียงพอแล้วและในปัจจุบันเทศกาลไวท์เดย์ (White day) มีแค่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นและเกาหลีเท่านั้นค่ะ………….

 
 
 
 ชมบทความอื่นๆ 
 
 

 ชอบบทความ เอฟวีนิวทัวร์ ทำยังไงนะ?
 1. กดแชร์ส่งต่อ ให้เพื่อนๆ อ่านกันได้ค่ะ
2. อย่าลืม กด Like กด Follow (ติดตาม) กันที่ช่องทาง Facebook, Instagram, Twitter และ Subscribe ช่อง YouTube ของเราด้วยนะคะ
 
 02-108-8666  

 
 
 
AVENUE INTER TRAVEL GROUP
 
 
  
 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้